COVID-19 IMPACTS ON FOOD AUTOMATION: เมื่อ โควิดกระตุ้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 👨🏭 “#ลดพึ่งพาแรงงานคน – #เร่งเข้าสู่ระบบ #Automation ” 🏭 ผู้ประกอบการอาหาร จะนำมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบการผลิตอาหารของตัวเองกันได้ยังไง? เพื่อยกระดับความปลอดภัยอาหารให้กับอุตสาหกรรมอาหารประเทศไทยให้ดีขึ้นยังไงกันได้บ้าง? 👾👩🏻🌾⛑🏭
สวัสดีค่ะ ชาวฟู้ดดดด! 💡🙋🏻♀️ สิ่งแรกที่นึกถึง เมื่อพูดถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะ การระบาดของโควิด-19 ก็คงหนีไม่พ้น ในเรื่องของ 🚱 #ความสะอาด 🚱 มาเป็นประเด็นแรกเลยเนอะ!
ในอุตสาหกรรมอาหาร ก็ชัดเจนมาก ในประเด็นของ #FoodSafety หรือ #ความปลอดภัยในอาหาร ที่ผู้ผลิตและผู้บริโภค ต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมากขึ้น
วันนี้ตาม #Amyinfood มาดูกันค่ะ 🤭⚡💡
ว่า #ผู้ประกอบการมีการปรับตัวกันยังไงบ้าง เพื่อตอบรับต่อความคาดหวัง
และความต้องการที่สูงขึ้นของผู้บริโภคในประเด็นของความสะอาดและความปลอดภัยในอาหารนี้…
________________________________________________________________
⭐️ “ความกลัวส่วนลึกในใจของผู้บริโภค…”
เมื่อทุกคนให้ความสนใจกับ #ความปลอดภัยอาหาร พร้อมกันทั่วทั้งโลก
แน่นอนว่าไม่มีใครอยากที่จะติดโรค จากอาหารที่บริโภคเข้าไป
จึงเกิดคำถามในใจผู้บริโภคมากมายถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารที่ทุกคนซื้อกินในชีวิตประจำวัน ว่า
* #ระบบการผลิตสินค้าอาหารเหล่านี้ขึ้นมาเนี่ยมันสะอาดปลอดภัยจริงๆรึเปล่า ?
ผู้บริโภคเริ่มที่จะคาดหวังในเรื่องของความสะอาด-ปลอดภัย กันมากขึ้น…
________________________________________________________________
⭐️ “ความเสี่ยงส่วนลึกในใจของผู้ผลิต-ผู้ประกอบการ…”
* ปัญหาขาดแคลนแรงงาน จากการหยุดชะงักทางธุรกิจด้วยผลกระทบจากโควิด-19
* ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูง อันเกิดจากการใช้แรงงานในการผลิตที่ไม่มี economies of scale & economies of scope ทำให้การใช้แรงงานคน กินค่าแรงมากกว่าแรงงานเครื่องจักร
* ความกังวลของผู้บริโภคในเรื่องความสะอาดของระบบการผลิตสินค้าอาหาร และการปนเปื้อนจากแรงงานคน
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงด้านการผลิต ที่เหล่าผู้ประกอบการต่างก็เป็นกังวล…
________________________________________________________________
⭐️ #ทางแก้ปัญหาของทั้งในมุมผู้บริโภคและผู้ผลิต
“อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เร่งการปรับตัว ตอบรับโจทย์ความสะอาดปลอดภัย แก้ปัญหาความกังวล รอบด้าน ทั้งจากผู้ผลิต-ผู้บริโภค”
เพื่อยกกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการผลิตอาหารและลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อน เน้นที่การบรรลุ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ที่เป็นมาตรฐานป้องกันการปนเปื้อนขั้นสูง
<-> * จึงได้มีการนำระบบ Automation มาปรับใช้ในการผลิตอาหาร *
ตัวอย่างกรณี ของประเทศอเมริกา 🇺🇸🌎
ได้เริ่มมีการนำเครื่องจักร มาใช้ในงานผลิตอาหารแล้ว แต่ยังเป็นในระดับเล็กที่ยังไม่ Mass ก็คือ 🚩#3DPrintedFoods 🚩ที่มีการนำเรื่องของ Ingredients หรือ ส่วนประกอบของอาหาร มาปรับใช้ในเครื่องจักรนี้
________________________________________________________________
⭐️ “การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อปรับใช้ระบบ Automation ในการผลิตสินค้าอาหาร”
การนำระบบ Automation มาใช้ อย่างแรก ผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมก่อน
โดย “#ความพร้อม” คร่าวๆนี้
* ผู้ประกอบการรายใหญ่ * (กำลังการผลิตสูง)
ควรยกระดับการผลิตของตน โดยนำระบบเหล่านี้มาปรับใช้ควบคู่กันนะคะ ได้แก่
1. #IRA (Industrial Robotic Arm) = ทดแทนแรงงานฝีมือ
2. #CNC (Computer Numerical Control) = เสริมสายพานการผลิตแบบอัตโนมัติของตนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
* ผู้ประกอบการขนาดกลาง * (กำลังการผลิต ปานกลาง)
ควรนำระบบ CNC มาใช้ในกระบวนการผลิตควบคู่ไปกับแรงงานฝีมือในบางจุด
* ผู้ประกอบการขนาดเล็ก * (กำลังการผลิตไม่สูง)
ควรเริ่มนำเครื่องจักรทั่วไปมาเริ่มใช้งาน
________________________________________________________________
⭐️ “#กุญแจสำคัญ ในการนำระบบ Automation มาใช้งาน”
เพราะระบบ Automation ยังคงเป็นระบบที่ต้องมีคนควบคุม ดังนั้น บทบาทของแร
งงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสิ่งเหล่านี้จึงสำคัญมาก เพื่อตรวจสอบแก้ไขปัญหาและซ่อมแซมระบบที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการผลิต
กุญแจสำคัญ ของการปรับใช้ระบบนี้ ก็เลยเป็นในเรื่องของ #การพัฒนาฝีมือแรงงานให้สามารถทำงานร่วมกับระบบAutomation ได้อย่างมีอะไรติดขัดน้อยที่สุด
และระบบจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ
ดังนั้นผู้ประกอบอาหารทั้งหลาย จะอยู่เฉยไม่ได้แล้วนะคะ
#ควรเตรียมความพร้อม ในเรื่องของความรู้เครื่องจักรและความพร้อมในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพแรงงานคนหน่วยควบคุมไปพร้อมๆกัน
#การปรับใช้ระบบAutomationในการผลิตอาหารในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารระดับภาพรวมประเทศได้อย่างรวดเร็วค่ะ! Take Care Foodie Guys! 😘💞
________________________________________________________________
#Amyinfood #FoodInfluencer #Food
#FoodIndustry #Health #HealthandBeauty
#guru #อาหาร #อุตสาหกรรมอาหาร #สุขภาพ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก:
roboticstomorrow.com
kasikornresearch.com
automationmag.com
________________________________________________________________